ประวัติสถานศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน

1.1 ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.อำเภอบางปลาม้า
1.1.1 ประวัติของอำเภอบางปลาม้า
อำเภอบางปลาม้า ก่อตั้งมาเป็นเวลา 96 ปี สมัยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีเจ้าพระยาศรีวิชัยเป็นสมุหเทศาภิบาล พระสมุทรคณานุรักษ์ เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี และนายชิตเป็นนายอำเภอบางปลาม้าคนแรก ที่มาของชื่ออำเภอบางปลาม้า มาจากชื่อปลาม้า ซึ่งมีชุกชุมในบริเวณที่ตั้งเดิม ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของตลาดเก้าห้องลงมาจนถึงคุ้งวังตาเพ็ชร บริเวณนี้เป็นที่ลุ่ม น้ำในห้วยบึงไหลมารวมกันในแม่น้ำ จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา มีปลาชุกชุมมาก โดยเฉพาะปลาม้ามีเป็นจำนวนมากกว่าปลาชนิดอื่น สันนิษฐานได้ว่า ใช้เรียกชื่อบางที่มีปลาม้ามากนั่นเอง จึงได้ชื่อว่า อำเภอบางปลาม้า
ต่อมาปี พ.ศ. 2442 ได้เกิดเพลิงไหม้ ที่ว่าการอาคารไม้หลังคามุงจาก ประกอบกับอำเภอตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำ ริมตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะอยู่ตลอดเวลา จึงย้ายอำเภอมาตั้งใหม่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม ในปี พ.ศ. 2504 สมัยนายตอม พรหมมายน เป็นนายอำเภอ และยังคงใช้ชื่อเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
1.1.2 ที่ตั้งและขนาด
อำเภอบางปลาม้า เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทางห่างจากจังหวัด 10 กิโลเมตร ประมาณพิกัดเส้นรุ้งที่ 14 องศา 24 ลิปดา 8 พิลิปดาเหนือและเส้นแวงที่ 100 องศา 9 ลิปดา 16 พิลิปดาตะวันออก (พิกัดภูมิศาสตร์: 14°24′8″N 100°9′16″E ) มีเนื้อที่ปกครองประมาณ มีพื้นที่ 481.3 ตารางกิโลเมตร (185.8 ตารางไมล์) ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 100 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน สาย 340

1.1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อำเภอบางปลาม้า สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ดินดี มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน และมีคู คลอง จำนวนมาก เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม แต่ในระหว่างช่วงเดือน กันยายน – ธันวาคม ของทุกปีจะมีน้ำหลาก จะส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ทุกปี
1.1.4 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ ลักษณะเป็นแบบลมมรสุม มี 3 ฤดู
ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน
ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

1.1.5 การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบางปลาม้า มีเนื้อที่ทั้งหมด 482.83 ตารางกิโลเมตร มีการแบ่งพื้นที่เป็น 14 ตำบล 127 หมู่บ้าน 13 ชุมชน ดังนี้
ที่ ตำบล/เทศบาล หมู่บ้าน/ชุมชน เนื้อที่ (ตร.กม.)
1 เทศบาลตำบลต้นคราม 12 35.15
2 เทศบาลตำบลโคกคราม 2 1.21
3 ตำบลบางปลาม้า 12 30.46
4 เทศบาลตำบลบางปลาม้า 5 3.98
5 เทศบาลตำบลตะค่า 9 38.38
6 ตำบลบางใหญ่ 8 27.11
7 ตำบลกฤษณา 7 28.11
8 ตำบลสาลี 8 47.58
9 ตำบลไผ่กองดิน 8 36.83
10 เทศบาลตำบลไผ่กองดิน 3 3.09
11 ตำบลองครักษ์ 7 40.42
12 ตำบลจรเข้ใหญ่ 9 30.45
13 ตำบลบ้านแหลม 5 16.26
14 เทศบาลตำบลบ้านแหลม 3 2.08
15 ตำบลมะขามล้ม 14 31.86
16 ตำบลวังน้ำเย็น 7 24.96
17 ตำบลวัดโบสถ์ 11 5,161
18 ตำบลวัดดาว 10 3,329
1.1.6 การแบ่งเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอบางปลาม้า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 18 แห่ง ประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลจำนวน 7 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 11 แห่ง ดังนี้
1) เทศบาลตำบลโคกคราม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโคกคราม
2) เทศบาลตำบลบางปลาม้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางปลาม้า
3) เทศบาลตำบลบ้านแหลม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านแหลม
4) เทศบาลตำบลไผ่กองดิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลไผ่กองดิน
5) เทศบาลตำบลต้นคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกคราม (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกคราม)
6) เทศบาลตำบลตะค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะค่าทั้งตำบล
7) เทศบาลตำบลบ้านแหลมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหลม
(นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม)
8) องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาม้า
(นอกเขตเทศบาลตำบลบางปลาม้า)
9) องค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางใหญ่ทั้งตำบล
10) องค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกฤษณาทั้งตำบล
11) องค์การบริหารส่วนตำบลสาลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาลีทั้งตำบล
12) องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่กองดิน
(นอกเขตเทศบาลตำบลไผ่กองดิน)
13) องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลองครักษ์ทั้งตำบล
14) องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้ใหญ่ทั้งตำบล
15) องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามล้มทั้งตำบล
16) องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเย็นทั้งตำบล
17) องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ทั้งตำบล
18) องค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดดาวทั้งตำบล
1.1.7 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดกับอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอผักไห่และอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรีและอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

1.1.8 จำนวนประชากรอำเภอบางปลาม้า
อำเภอบางปลาม้า มีครัวเรือน จำนวน 25,620 ครัวเรือน ความหนาแน่น 158.93 คน/ตารางกิโลเมตร (411.6 ตารางไมล์) จำนวนประชากร เพศชาย 38,576 คน เพศหญิง 40,694 คน รวมทั้งสิ้น 79,270 คน (ข้อมูลตามฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561) ดังต่อไปนี้
ที่ ตำบล/เทศบาล ครัวเรือน ประชากรแยกเพศ รวมทั้งหมด
(คน)
ชาย หญิง
1 เทศบาลตำบลต้นคราม 1,982 2,662 2,918 5,580
2 เทศบาลตำบลโคกคราม 835 758 811 1,569
3 บางปลาม้า 1,949 3,419 3,374 6,793
4 เทศบาลตำบลบางปลาม้า 654 961 1,025 1,986
5 เทศบาลตำบลตะค่า 1,883 2,699 2,895 5,594
6 ตำบลบางใหญ่ 1,403 2,214 2,243 4,457
7 ตำบลกฤษณา 1,326 1,914 1,991 3,905
8 ตำบลสาลี 2,444 3,420 3,620 7,040
9 ตำบลไผ่กองดิน 1,503 2,387 2,504 4,891
10 เทศบาลตำบลไผ่กองดิน 602 883 926 1,809
11 ตำบลองครักษ์ 1,795 2,524 2,742 5,266
12 ตำบลจรเข้ใหญ่ 1,518 2,317 2,377 4,694
13 ตำบลบ้านแหลม 990 1,486 1,655 3,141
14 เทศบาลตำบลบ้านแหลม 438 606 624 1,230
15 ตำบลมะขามล้ม 1,702 2,293 2,494 4,787
16 ตำบลวังน้ำเย็น 1,253 1,976 2,136 4,112
17 ตำบลวัดโบสถ์ 1,437 2,343 2,497 4,840
18 ตำบลวัดดาว 1,906 2,955 3,115 6,070
1.1.9 การคมนาคม การเดินทางจำแนกตามประเภท ดังนี้
• ทางบก
1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 340 (สุพรรณ – บางบัวทอง)
2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3460 (สุพรรณ – บางลี่)
3. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 376 (เก้าห้อง – ดอนแจง)
4. ทางหลวงชนบท
5. ถนนลูกรังติดต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน
• ทางเรือ มีบางหมู่บ้านใช้เรือพายติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ไม่มีท่าเรือสำคัญ
1.1.10 คำขวัญประจำอำเภอบางปลาม้า
แหล่งอุทยานมัจฉา ก้องฟ้านักร้องศิลปิน ถิ่นหัตถกรรมพื้นบ้าน สืบสานบั้งไฟไทยพวน
ล้วนเกษตรกรรมเลื่องลือ ขึ้นชื่อตลาดร้อยปี ประเพณีแข่งเรือยาว
1.1.11 สภาพทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ 70 ของประชากรอำเภอบางปลาม้า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 229,144 ไร่ โดยแยกเป็น
1) อาชีพทำนา เกษตรกรประมาณ 6,643 ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ 208,866 ไร่
2) อาชีพประมง เกษตรกรประมาณ 2,499 ราย พื้นที่ประมาณ 20,278 ไร่
3) อาชีพเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรประมาณ 3,595 ราย
นอกจากนี้ก็มีอาชีพรอง เช่น รับจ้าง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม รับราชการ และอื่น ๆ ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 80,000 บาท/คน หรือประมาณ 6,000 บาท/คน/เดือน
1.1.12 สภาพทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอำเภอบางปลาม้า ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ หลากหลาย
หลากหลาย เช่น ไทยพวน ไทยเวียง ไทยทรงดำ และไทยพื้นถิ่น ตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่มเครือญาติ มีการร่วมกันทำกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ มีความสามัคคีรักพวกพ้องเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นไว้ได้ งานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่น ประเพณีบั้งไฟไทยพวน ตักบาตรกลางน้ำ การแข่งขันเรือยาวประเพณี ประเพณีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ งานประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

 ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของอำเภอบางปลาม้า
ประเพณีที่สำคัญ
ประเพณีทำบุญวันขึ้นปีใหม่
บริเวณริมเขื่อนหน้าที่ว่าการอำเภอ
บางปลาม้า ประเพณีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ อำเภอบางปลาม้า
จัดให้มีการทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีโดยมีการ
นิมนต์พระรับบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้งจากประชาชนในเขตอำเภอ
บางปลาม้า บริเวณริมเขื่อนหน้าที่ว่าการอำเภอบางปลาม้า
ประเพณีแข่งขันเรือยาว
ชิงถ้วยพระราชทานฯ
ณ ลำน้ำท่าจีนหน้าวัดสวนหงส์
หมู่ที่ 8 ตำบลบางปลาม้า ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน เป็นการแข่งขันเป็นเรือยาวที่ชนะการแข่งขันระดับประเทศมาแล้ว ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะแข่งขันในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สถานที่จัดแข่งขัน ณ ลำน้ำท่าจีนบริเวณหน้าวัดสวนหงส์ หมู่ที่ 8 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า
ประเพณีบุญบั้งไฟชาวไทยพวน
ณ เทศบาลตำบลบางปลาม้า
(บ้านเก้าห้อง) ประเพณีบุญบั้งไฟชาวไทยพวน เป็นประเพณีชาวไทยพวนเป็นการประกวดแข่งขันบั้งไฟของหมู่บ้านชาวไทยพวนที่อยู่ในอำเภอบางปลาม้าเพื่อการสนุกสนาน สามัคคี และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของชาวไทย
พวนซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 11-13 เมษายน ของทุกปี
ณ เทศบาลตำบลบางปลาม้า (บ้านเก้าห้อง) ตำบลบางปลาม้า
ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ
วัดป่าพฤกษ์ ตำบลบ้านแหลม ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ ประเพณีตักบาตรกลางน้ำจะมีขึ้นในแรม12 ค่ำ เดือน 12 มีชาวบ้านมาร่วมกันตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง มีราษฎรใน ตำบลและตำบลใกล้เคียงมาร่วมตักบาตรในตอนเช้าประมาณ 6 โมงเช้า มีพระสงฆ์พายเรือมาจากหลายวัดมารับบิณฑบาตโดยจัดใส่บาตรที่แพหน้า วัดป่าพฤกษ์ เสร็จมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเยาวชน แต่ละหมู่บ้าน

 แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของอำเภอบางปลาม้า
สถานที่สำคัญ
วัดสวนหงส์
หมู่ที่ 8 ตำบลบางปลาม้า วัดสวนหงส์ เป็นวัดเก่าแก่ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและเลื่อมใสซึ่งมีพระครูสุมณคุณารักษ์ (หลวงพ่อปลื้ม) อดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ด้านพระพุทธคุณ ที่ชาวอำเภอบางปลาม้าและใกล้เคียงให้ความเคารพศรัทธา และวัดนี้ยังเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดให้มีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ในช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
วัดอาน
หมู่ที่ 3 ตำบลบางใหญ่ วัดอาน เป็นวัดร้างไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ตั้งอยู่ที่บ้านบางแม่หม้าย ตำบลบางใหญ่ ประวัติโดยย่อของวัดอานนี้ได้มีผู้เล่าต่อ ๆ กันมาน่าจะสร้างเมื่อประมาณปลายสมัยสุโขทัย หรือต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา 400 ปีมาแล้วในสมัยนั้นพม่ากำลังทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา พม่าได้ยกทัพผ่านมาที่บริเวณนี้ และได้พักกองทัพช้างกองทัพม้าที่นี่ทหารพม่าได้ทิ้งอานช้างอานม้าไว้เป็นอันมากจึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดอาน” ที่วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งชาวบ้านทั่วไปมีความเชื่อถือศรัทธาว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีผู้ไปกราบไหว้เป็นประจำ คือ หลวงพ่อจันทรังษี ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
วัดน้อย (หลวงพ่อเนียม)
หมู่ที่ 2 ตำบลโคกคราม วัดน้อย (หลวงพ่อเนียม) เป็นวัดเก่ามีอายุกว่า 100 ปี มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สร้างโดยผู้ใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน หลวงพ่อเนียม หรือ หลวงพ่อเนียม ธัมมโชติ อดีตเจ้าอาวาส เกิดเมื่อปี พ.ศ.2372 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี
ตลาดเก้าห้อง
หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า ตลาดเก้าห้อง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน เป็นตลาดห้องแถวไม้เก่าแก่ มีอายุกว่า 100 ปี สร้างเมื่อประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางปลาม้า ตลาดแห่งนี้มีเรื่องราวความเป็นมาอันยาวนานน่าสนใจ โดยเฉพาะการร่วมมือกันของชุมชนชาวตลาดในการต่อสู้ป้องกันโจรผู้ร้าย ซึ่งมี “หอดูโจร” เป็นเอกลักษณ์สำคัญของตลาดแห่งนี้
วัดดอกบัว
หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม วัดดอกบัว เป็นวัดที่เป็นที่ตั้งของห้องสมุดเจดีย์ ที่สวยงามและมีหนังสือที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก มีพระพุทธชินสีห์วชิรมหามุนีศรีสังวาลย์ (หลวงพ่อองค์ดำ) และหลวงพ่อแสงทอง ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถศิลาแลง พร้อมทั้งให้อาหารปลาในบ่อบัว
วัดบางเลน
หมู่ 1 ตำบลกฤษณา วัดบางเลน เป็นวัดที่มีอุโบสถ์สวยงาม มีพระที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 24 กม. ภายในบริเวณวัด มีค้างคาวแม่ไก่อยู่เป็น จำนวนมากอาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้
อุทยานมัจฉา วัดป่าพฤกษ์
หมู่ 3 ตำบลบ้านแหลม อุทยานมัจฉาวัดป่าพฤกษ์ บริเวณหน้าวัดมีฝูงปลาเป็นจำนวนมาก มีปลาเทโพ ปลานิล โดยเฉพาะปลาสวายตัวละหลายกิโลกรัม หลายร้อยตัว และปลาอื่น ๆ รวมหลายพันตัว เป็นปลาธรรมชาติที่ทางวัดสงวนพันธุ์ปลาไว้ ไม่ให้บุคคลใดมาจับปลาและทางวัดได้ให้อาหาร เพื่อทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ประชาชนได้มาพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวสามารถยืนชมและให้อาหารปลาได้อย่างใกล้ชิดบริเวณริมแม่น้ำ ซึ่งทางวัดได้ ก่อสร้างเป็นเขื่อน ยาวประมาณ 100 เมตร

 วัด (วิสุงคามสีมา)

ที่ ชื่อวัด ตำบล ที่ ชื่อวัด ตำบล
1 วัดโคกโพธิ์ ตำบลกฤษณา 39 วัดป่าพฤกษ์ ตำบลบ้านแหลม
2 วัดบางเลน ตำบลกฤษณา 40 วัดศุขเกษม ตำบลบ้านแหลม
3 วัดราษฎร์บูรณะ ตำบลกฤษณา 41 วัดใหม่พิณสุวรรณ ตำบลบ้านแหลม
4 วัดศพเพลิง ตำบลกฤษณา 42 วัดช่องลม ตำบลไผ่กองดิน
5 วัดกลาง ตำบลโคกคราม 43 วัดทองขาหย่าง ตำบลไผ่กองดิน
6 วัดขวาง ตำบลโคกคราม 44 วัดราษฎร์บำรุง ตำบลไผ่กองดิน
7 วัดดอกบัว ตำบลโคกคราม 45 วัดฤกษ์บุญมี ตำบลไผ่กองดิน
8 วัดทวิชาตาราม ตำบลโคกคราม 46 วัดตปะโยคาราม ตำบลมะขามล้ม
9 วัดน้อย ตำบลโคกคราม 47 วัดตะลุ่ม ตำบลมะขามล้ม
10 วัดมณีวรรณ ตำบลโคกคราม 48 วัดเนินเกษม (โคกโก) ตำบลมะขามล้ม
11 วัดลาดหอย ตำบลโคกคราม 49 วัดโบสถ์ ตำบลมะขามล้ม
12 วัดลานคา ตำบลโคกคราม 50 วัดสุขเกษม ตำบลวังน้ำเย็น
13 วัดอู่ทอง ตำบลโคกคราม 51 วัดดอนยอ ตำบลวังน้ำเย็น
14 วัดลำบัว ตำบลจรเข้ใหญ่ 52 วัดไผ่มุ้ง ตำบลวังน้ำเย็น
15 วัดศาลาท่าทราย ตำบลจรเข้ใหญ่ 53 วัดวังน้ำเย็น ตำบลวังน้ำเย็น
16 วัดสูงสุฆารมหันตาราม ตำบลจรเข้ใหญ่ 54 วัดคูบัว ตำบลวัดดาว
17 วัดแก้วตะเคียนทอง (ตะฆ่า) ตำบลตะค่า 55 วัดดอนตาจีน ตำบลวัดดาว
18 วัดเจ้าขาว ตำบลตะค่า 56 วัดดาว ตำบลวัดดาว
19 วัดชีปะขาว ตำบลตะค่า 57 วัดบ้านสันดอน ตำบลวัดดาว
20 วัดดารา ตำบลตะค่า 58 วัดโพธิ์ตะควน ตำบลวัดดาว
21 วัดบางยี่หน ตำบลตะค่า 59 วัดสังโฆสิตาราม (สังโฆ) ตำบลวัดดาว
22 วัดกกม่วง ตำบลบางปลาม้า 60 วัดคลองขุด ตำบลวัดโบสถ์
23 วัดขุนไกร ตำบลบางปลาม้า 61 วัดดอนขาด ตำบลวัดโบสถ์
24 วัดทุ่งอุทุมพร ตำบลบางปลาม้า 62 วัดดอนทอง ตำบลวัดโบสถ์
25 วัดบ้านเก่า ตำบลบางปลาม้า 63 วัดท่าตลาด ตำบลวัดโบสถ์
26 วัดบ้านด่าน ตำบลบางปลาม้า 64 วัดบางจิก ตำบลวัดโบสถ์
27 วัดบ้านสูตร ตำบลบางปลาม้า 65 วัดไผ่เดี่ยว ตำบลวัดโบสถ์
28 วัดบ้านหมี่ ตำบลบางปลาม้า 66 วัดพิพัฒนาราม ตำบลวัดโบสถ์
29 วัดโพธิ์ลังกา ตำบลบางปลาม้า 67 วัดรางบัว ตำบลวัดโบสถ์
30 วัดโพธิ์ศรี ตำบลบางปลาม้า 68 วัดทรงกระเทียม ตำบลสาลี
31 วัดรอเจริญ ตำบลบางปลาม้า 69 วัดบึงคา ตำบลสาลี
32 วัดสวนหงษ์ ตำบลบางปลาม้า 70 วัดลาดน้ำขาว ตำบลสาลี
33 วัดเสาธง ตำบลบางปลาม้า 71 วัดสาลี ตำบลสาลี
34 วัดดอนกระเบื้อง ตำบลบางใหญ่ 72 วัดเสาธงทอง ตำบลสาลี
35 วัดท่าเจริญ ตำบลบางใหญ่ 73 วัดคลองโมง ตำบลองครักษ์
36 วัดบางแม่หม้าย ตำบลบางใหญ่ 74 วัดสามัคคีธรรม ตำบลองครักษ์
37 วัดบางใหญ่ ตำบลบางใหญ่ 75 วัดองครักษ์ ตำบลองครักษ์
38 วัดอินทราวาส ตำบลบางใหญ่
1.1.13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่ ชื่อ – สกุล ภูมิปัญญา ทักษะความชำนาญ ที่อยู่
1 นางดารณี วงษ์จันทร์ อุตสาหกรรมและหัตถกรรม จักสานผลิตภัณฑ์ หมู่ที่ 12 ตำบลบางปลาม้า
2 นางลำดวน อภิเดช โภชนาการ การทำขนมหวาน /ขนมไทย 57 หมู่ที่ 9 ตำบลโคกคราม
3 นางทุเรียน ศรีเพียงจันทร์ เกษตรกรรม การทำเกษตรอินทรีย์ 134/3 หมู่ที่ 3 ตำบลกฤษณา
4 นายเฉลา นิลวรรณ เกษตรกรรม เกษตรกรรม 24/1 หมู่ที่ 12 ตำบลบางปลาม้า
5 นางสาวสายรุ้ง ศรีหิรัญ อุตสาหกรรมและหัตถกรรม งานศิลปะประดิษฐ์,จัดดอกไม้ 44 หมู่ที่ 2 ตำบลตะค่า
6 นางทองหล่อ ปาละกะวงศ์ โภชนาการ การทำอาหารว่าง 22 หมู่ที่ 9 ตำบลมะขามล้ม
7 นางวงเดือน จันทกิจ โภชนาการ การทำขนมไทย บ้านลำบัว หมู่ที่ 3 ตำบลจรเข้ใหญ่
8 นางถวิล ใกล้บุปผา โภชนาการ การทำน้ำพริก 23/1 หมู่ที่ 6 ตำบลมะขามล้ม
9 นายจอม บุญล้ำ เกษตรกรรม การทำเกษตรผสมผสาน 67 หมู่ที่ 5 ตำบลวังน้ำเย็น
10 นางสาวเพ็ญแข น้ำทับทิม โภชนาการ/อุตสาหกรรมและหัตถกรรม การทำขนมหวาน/
ศิลปะประดิษฐ์ 38 หมู่ที่ 7 ตำบลบางใหญ่
11 นายประสงค์ บุรุษชาติ แพทย์แผนไทย การแปรรูปสมุนไพร 117 หมู่ที่ 9 ตำบลวัดโบสถ์
12 นางพุ่ม เจริญผล อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ศิลปะประดิษฐ์ /หัตถกรรม 19 หมู่ที่ 7 ตำบลไผ่กองดิน
13 นางโปร่งใจ พันธ์เณร อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ศิลปะประดิษฐ์ /หัตถกรรม 9 หมู่ที่ 10 ตำบลโคกคราม
14 นางมาลี เล็กจินดา โภชนาการ การถนอมอาหาร 65/4 หมู่ที่ 1 ตำบลสาลี
15 นางสาวสมลักษณ์ จันทร์ตรี อุตสาหกรรมและหัตถกรรม งานประดิษฐ์ดอกไม้ 132 หมู่ที่ 5 ตำบลไผ่กองดิน
16 นางประจวบ วงษ์บัณฑิต โภชนาการ การทำขนมกง 84 หมู่ที่ 4 ตำบลวังน้ำเย็น
17 นางบังอร ปาละพันธ์ โภชนาการ การทำไส้กรอก – แหนมหมู หมู่ที่ 2 ตำบลกฤษณา
18 นางสังวาลย์ จิตชุ่ม อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ศิลปะประดิษฐ์ /หัตถกรรม 25 หมู่ที่ 5 ตำบลสาลี
19 นางกาเหว่า เทพณรงค์ อุตสาหกรรมและหัตถกรรม การจักสานไม้ไผ่ /หวาย 170/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหลม

1.1.14 ภาคีเครือข่าย
ที่ ชื่อภาคีเครือข่าย ที่ตั้ง/ที่อยู่
1 ปกครองอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
2 สถานีตำรวจภูธรบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
3 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
4 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
5 สำนักงานที่ดินอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
6 สำนักงานท้องถิ่นอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
7 สำนักงานประมงอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
8 สำนักงานสรรพกรอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
9 สำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
10 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
11 โรงเรียนวัดช่องลม หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่กองดิน
12 โรงเรียนบางแม่หม้าย “รัฐราษฏร์รังสฤษดิ์” หมู่ที่ 3 ตำบลบางใหญ่
13 โรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 หมู่ที่ 4 ตำบลมะขามล้ม
14 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม
15 โรงเรียนบางปลาม้า สูงสุมารผดุงวิทย์ หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม
16 องค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางใหญ่
17 องค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว หมู่ที่ 3 ตำบลวัดดาว
18 องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ หมู่ที่ 9 ตำบลวัดโบสถ์
19 องค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา หมู่ที่ 5 ตำบลกฤษณา
20 องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม หมู่ที่ 4 ตำบลมะขามล้ม
21 องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น หมู่ที่ 2 ตำบลวังน้ำเย็น
22 องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลจรเข้ใหญ่
23 องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ หมู่ที่ 1 ตำบลองครักษ์
24 องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลบางปลาม้า
25 องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่กองดิน
26 องค์การบริหารส่วนตำบลสาลี หมู่ที่ 2 ตำบลสาลี
27 เทศบาลตำบลต้นคราม หมู่ที่ 2 ตำบลโคกคราม
28 เทศบาลตำบลโคกคราม หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม
29 เทศบาลตำบลไผ่กองดิน หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่กองดิน
30 เทศบาลตำบลบางปลาม้า หมู่ที่ 7 ตำบลบางปลาม้า
31 เทศบาลตำบลบ้านแหลมพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหลม
32 เทศบาลตำบลบ้านแหลม หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแหลม
33 เทศบาลตำบลตะค่า หมู่ที่ 2 ตำบลตะค่า
34 วัดดอกบัว หมู่ที่ 4 ตำบลโคกคราม
35 วัดเจ้าขาว หมู่ที่ 4 ตำบลตะค่า
36 วัดใหม่พิณสุวรรณ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหลม
37 วัดบ้านด่าน หมู่ที่ 4 ตำบลบางปลาม้า
38 วัดบ้านสูตร หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า
39 วัดกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลโคกคราม
40 วัดดาว หมู่ที่ 4 ตำบลวัดดาว
41 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลบางใหญ่
42 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านดอนขาด หมู่ที่ 3 ตำบลวัดโบสถ์
43 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกฤษณา หมู่ที่ 3 ตำบลกฤษณา
44 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลองครักษ์ หมู่ที่ 2 ตำบลองครักษ์
45 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาลี หมู่ที่ 2 ตำบลสาลี
46 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดโบสถ์ หมู่ที่ 9 ตำบลวัดโบสถ์
47 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลม หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแหลม
48 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปลาม้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า
49 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดดาว หมู่ที่ 4 ตำบลวัดดาว
50 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจรเข้ใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลจรเข้ใหญ่
51 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะขามล้ม หมู่ที่ 3 ตำบลมะขามล้ม
52 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสามัคคีธรรม หมู่ที่ 4 ตำบลองครักษ์
53 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านราษฎร์บูรณะ หมู่ที่ 6 ตำบลกฤษณา
54 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสาธงทอง หมู่ที่ 6 ตำบลสาลี

1.1.15 หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่
(1) หน่วยราชการส่วนภูมิภาค
อำเภอบางปลาม้ามีหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 11 แห่ง ได้แก่
1) ที่ทำการปกครองอำเภอบางปลาม้า
2) สถานีตำรวจภูธรบางปลาม้า
3) สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางปลาม้า
4) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปลาม้า
5) สำนักงานที่ดินอำเภอบางปลาม้า
6) สำนักงานท้องถิ่นอำเภอบางปลาม้า
7) สำนักงานสรรพกรอำเภอบางปลาม้า
8) สำนักงานประมงอำเภอบางปลาม้า
9) สำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า
10) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปลาม้า
11) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางปลาม้า
(2) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อำเภอบางปลาม้ามีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1) สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบางปลาม้า
2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางปลาม้า
3) ธนาคารออมสิน สาขาบางปลาม้า
4) ที่ทำการไปรษณีย์
(3) สถานศึกษา
1) ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง
– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
2) ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
– โรงเรียนบางปลาม้า”สูงสุมารผดุงวิทย์”
– โรงเรียนบางแม่หม้ายรัฐราษฎร์รังสฤษดิ์
– โรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2
3) ระดับประถมศึกษา จำนวน 50 แห่ง
4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 38 แห่ง
(4) สถานพยาบาล
1) โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จำนวน 1 แห่ง
2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) จำนวน 17 แห่ง
3) คลินิกเอกชน จำนวน 2 แห่ง
(5) ด้านอุตสาหกรรม
1) โรงสีข้าว จำนวน 10 แห่ง
2) โรงเลื่อย จำนวน 3 แห่ง
3) โรงงานออกแบบแม่พิมพ์รถยนต์ จำนวน 1 แห่ง
4) โรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ จำนวน 4 แห่ง
(6) ด้านบริการ
1) ธนาคารพาณิชย์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1.1) ธนาคารออมสิน สาขาบางปลาม้า
1.2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาบางปลาม้า
1.3) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาบางปลาม้า
(7) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง
(8) สหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง

1.2 บริบททั่วไปของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปลาม้า
กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2522 เป็นกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรากฐานที่มั่นคงมาจาก “การศึกษาผู้ใหญ่” เพื่อจัดการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับประชาชนทั่วไปที่พลาดและขาดโอกาสทางการศึกษาให้ได้รับการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษของปี 2473 เมื่อรัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นเพื่อยกระดับอัตราการรู้หนังสือของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ขณะนั้นมีเพียง 32 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั้งในปี 2483 รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้นในสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับผิดชอบงานการศึกษาผู้ใหญ่โดยตรง และได้ริเริ่มโครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือทั่วประเทศพร้อมกับประกาศใช้กฎหมายบังคับให้ประชาชนผู้ไม่รู้หนังสือที่มีอายุระหว่าง 20-45 ปี เสียค่าเล่าเรียนเป็นรายปีจนกว่าจะผ่านการทดสอบว่าเป็นผู้รู้หนังสือแล้ว จนกระทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ” ในปี พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่บริการระดับอำเภอ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ส่งผลให้การบริการการศึกษานอกโรงเรียนในรูปแบบต่าง ๆ ทำได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปลาม้า เดิมมีชื่อเรียกว่า ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบางปลาม้า เป็นสถานศึกษาในราชการส่วนกลาง ได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบางปลาม้า ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 และได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถานศึกษา จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปลาม้า เรียกโดยย่อว่า กศน.อำเภอบางปลาม้า สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมการศึกษาระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
บทบาทและภารกิจของ กศน.อำเภอ
อำนาจและหน้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 มีนาคม 2551 เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1. จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
4. จัดส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่
5. จัด ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. วิจัยและพัฒนาคุณภาพหลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษานอกระบบ
7. ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
8. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานการ
ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
9. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
10. ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
11. ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สอดคล้องกับระบบหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
12. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2.1 ที่ตั้ง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปลาม้า มีการใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบางปลาม้าเป็นที่ปฏิบัติงาน ต่อมาในปีงบประมาณ 2543 ได้รับการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารอำนวยการเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น อาคารเป็นกรรมสิทธิ์ของ กศน.ตั้งอยู่ในพื้นที่ของศูนย์ราชการอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72150
โทรศัพท์ : 0 3558 6415
โทรสาร : 0 3558 6415
Website : http://suphan.nfe.go.th/5/
e-Mail : spb.abp_nfedc@nfe.go.th
Fanpage : https://www.facebook.com/bangplamaNFE/
1.2.2 ทำเนียบผู้บริหาร
ที่ ชื่อ-สกุล ผู้บริหาร ตำแหน่ง ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 นายสมพงษ์ เคนผาพงษ์ หัวหน้าศูนย์ 27 สิงหาคม 2536 – 17 มกราคม 2537
2 นายสมพงษ์ เคนผาพงษ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 18 มกราคม 2537 – 25 ตุลาคม 2545
3 นายชูชีพ เปล่งอารมณ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 26 ตุลาคม 2545 – 5 มิถุนายน 2548
4 นายมนตรี ศรีบัวทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 6 มิถุนายน 2548 -13 ตุลาคม 2552
5 นายสมพงษ์ เคนผาพงษ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 14 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2556
6 นายชูชีพ เปล่งอารมณ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา (รก.) 1 ตุลาคม 2556 – 16 กุมภาพันธ์ 2557
7 นางบุญปลูก สัจจะเวทะ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 17 กุมภาพันธ์ 2557 – 30 กันยายน 2562
8 นางสมควร วงษ์แก้ว ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 มกราคม 2563 – ปัจจุบัน
1.2.3 ข้อมูลบุคลากร
ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา สาขา
1 นางสมควร วงษ์แก้ว ผู้อำนวยการฯ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การศึกษาผู้ใหญ่
2 นายปรีชา พิทักษ์วงศ์ ครู ชำนาญการพิเศษ ศึกษาศาสตรบัณฑิต พลศึกษา
3 นายนรินทร์ธร พัฒนไชยการ ครูผู้ช่วย บริหารธุรกิจบัณฑิต คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
4 นางสาวณภษร แสงอินทร์ บรรณารักษ์ ปฏิบัติการ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
5 นางอัญชลี ด้วงประสิทธิ์ ครู อาสาสมัคร กศน. ศิลปศาสตรบัณฑิต การพัฒนาชุมชน
6 นางจีระภา โกพัฒน์ตา ครู อาสาสมัคร กศน. วิทยาศาสตรบัณฑิต เอกสถิติประยุกต์
7 นายไพศาล สุขสำราญ ครู อาสาสมัคร กศน. ศิลปศาสตรบัณฑิต การพัฒนาชุมชน
8 นางสาวราตรี น่วมใจดี ครู อาสาสมัคร กศน. ครุศาสตรบัณฑิต การพัฒนาชุมชน
9 นางสาวเพ็ญจันทร์ วงศ์ศรีเผือก ครู อาสาสมัคร กศน. ศิลปศาสตรบัณฑิต สื่อสารมวลชน
10 นายสิทธิวุฒิ จันทรมะโน ครู อาสาสมัคร กศน. ครุศาสตรบัณฑิต พลศึกษา
11 นางสาวทัศนีย์ ดำรงค์ฤทธิ์ ครู กศน.ตำบล ศึกษาศาสตรบัณฑิต การศึกษานอกระบบ
12 นางสาวพรรณอร แก้วเรือง ครู กศน.ตำบล ครุศาสตรบัณฑิต สังคมศึกษา
13 นางกชกานต์ บัวบาน ครู กศน.ตำบล ครุศาสตรบัณฑิต สังคมศึกษา
14 นางสาวนิลาวัณย์ เย็นมาก ครู กศน.ตำบล วิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยาการคอมพิวเตอร์
15 นางสาวนงลักษณ์ อ่วมป่วน ครู กศน.ตำบล ครุศาสตรบัณฑิต สุขศึกษา
16 นางสาวยุพรัตน์ ศรีธนานันท์ ครู กศน.ตำบล บริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
17 นางสาววิภามาศ แสงเทียน ครู กศน.ตำบล ครุศาสตรบัณฑิต สังคมศึกษา
18 นายสุทธิพร สุขสุคนธ์ ครู กศน.ตำบล นิติศาสตรบัณฑิต นิติศาสตร์
19 นายอภิรักษ์ ขำสุวรรณ ครู กศน.ตำบล ครุศาสตรบัณฑิต ประถมศึกษา
20 ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิริพร ศรีหิรัญ ครู กศน.ตำบล บริหารธุรกิจบัณฑิต คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
21 นางทิพวัลย์ จิตสุชน ครู กศน.ตำบล บริหารธุรกิจบัณฑิต การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
22 นางสาวดุจฤดี เจริญผล ครู กศน.ตำบล บริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการระบบสารสนเทศ
23 นายวรรณรัตน์ กมลชัยกุล ครู กศน.ตำบล คุรุศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตร์ทั่วไป
24 นางธณัญพัสร์ เคลือบสุวรรณ ครู กศน.ตำบล คุรุศาสตรบัณฑิต การศึกษาปฐมวัย
25 นางสาวชลธิชา บุญประเสริฐ บรรณารักษ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
26 นางสาวช่อผกา พันตัน นักจัดการงานทั่วไป วิทยาศาสตรบัณฑิต ฟิสิกส์
27 นางสาวปุณยวีร์ เอี่ยมใจดี เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป วิทยาศาสตรบัณฑิต บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
28 นางสาวสุนิสา จันทร์กระจ่าง พนักงานบริการ มัธยมศึกษาตอนต้น –

1.2.4 คณะกรรมการสถานศึกษา
ที่ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายณัฐวุฒิ แสงดาว ประธานกรรมการ
2 นายเชาว์ นวมทอง กรรมการ
3 นายจตุพร อุ่นวิจิตร กรรมการ
4 นายสมพร วังอมรมิตร กรรมการ
5 ร้อยตำรวจเอก กำจร คำแก้ว กรรมการ
6 นายนิธิ คงสมจิตต์ กรรมการ
7 นายสุเทพ ทองธรรมชาติ กรรมการ
8 นายชูชีพ นันทนาสิทธิ์ กรรมการ
9 นางสมควร วงษ์แก้ว กรรมการและเลขานุการ
10 นายปรีชา พิทักษ์วงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
1.2.5 กศน.ตำบล
ที่ ชื่อ
ศูนย์การเรียนชุมชน ที่ตั้ง ครูผู้รับผิดชอบ ห่างจาก
กศน.อำเภอ
1 กศน.ตำบลโคกคราม หมู่ที่ 2 ตำบลโคกคราม นางกชกานต์ บัวบาน 1 กิโลเมตร
2 กศน.ตำบลบางปลาม้า วัดกกม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลบางปลาม้า นางสาวดุจฤดี เจริญผล 10 กิโลเมตร
3 กศน.ตำบลตะค่า วัดเจ้าขาว หมู่ที่ 4 ตำบลตะค่า นางสาวพรรณอร แก้วเรือง 6 กิโลเมตร
4 กศน.ตำบลบางใหญ่ วัดอาน หมู่ที่ 4 ตำบลบางใหญ่ นางสาวนิลาวัณย์ เย็นมาก 14 กิโลเมตร
5 กศน.ตำบลกฤษณา อาคาร อบต. หมู่ที่ 5 ตำบลกฤษณา นางสาวยุพรัตน์ ศรีธนานันท์ 17 กิโลเมตร
6 กศน.ตำบลสาลี วัดสาลี หมู่ที่ 2 ตำบลสาลี ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิริพร ศรีหิรัญ 12 กิโลเมตร
7 กศน.ตำบลไผ่กองดิน บ้านสุด หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่กองดิน นางสาวนงลักษณ์ อ่วมป่วน 18 กิโลเมตร
8 กศน.ตำบลองครักษ์ บ้านหงส์ หมู่ที่ 7 ตำบลองครักษ์ นางสาววิภามาศ แสงเทียน 11 กิโลเมตร
9 กศน.ตำบลจรเข้ใหญ่ อาคาร อบต. หมู่ที่2 ตำบลจรเข้ใหญ่ นางทิพวัลย์ จิตสุชน 13 กิโลเมตร
10 กศน.ตำบลบ้านแหลม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหลม นางธณัญพัสร์ เคลือบสุวรรณ 6 กิโลเมตร
11 กศน.ตำบลมะขามล้ม หมู่ที่ 7 ตำบลมะขามล้ม นางสาวทัศนีย์ ดำรงค์ฤทธิ์ 13 กิโลเมตร
12 กศน.ตำบลวังน้ำเย็น หมู่ที่ 7 ตำบลวังน้ำเย็น นายวรรณรัตน์ กมลชัยกุล 18 กิโลเมตร
13 กศน.ตำบลวัดโบสถ์ บ้านท่าตลาด หมู่ที่ 2 ตำบลวัดโบสถ์ นายสุทธิพร สุขสุคนธ์ 22 กิโลเมตร
14 กศน.ตำบลวัดดาว หมู่ที่ 4 ตำบลวัดดาว นายอภิรักษ์ ขำสุวรรณ 7 กิโลเมตร

1.2.6 โครงสร้างศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปลาม้า

1.2.3 ทำเนียบผู้บริหาร